วิธีจัดเบนโตะแบบญี่ปุ่น (Bento Workshop)
Thursday, June 13, 2013
โพสต์นี้เป็นโพสต์ที่ต๊ะดองไว้นานมากๆ ถ้ายังถ่ายรูปแบบใช้ฟิล์มอยู่คงจะเห็นความกรอบเหลืองของรูปเป็นแน่ ต๊ะเขียนเรื่องเบนโตะมานานหลายปี ยังไม่มีโอกาสได้เขียนเรื่องพื้นๆ อย่างเบนโตะคืออะไร เบนโตะที่สวยเป็นยังไง จัดเบนโตะยังไงให้น่ากิน และดีต่อสุขภาพ ทั้งๅ ที่น่าจะเขียนตั้งแต่แรก แต่ก็อย่างที่บอกไปหลายครั้งว่าต๊ะเขียนบล็อกแบบไม่มีแผน ไม่มีโครง ก็ทำไปแก้ไป อะไรๆ มันก็เลยยังดูขาดๆ เกินๆ ไปบ้าง หวังว่ายังไม่เบื่อกันไปซะก่อนนะคะ
ปกติแล้ว ถ้ามีเวลาว่างพวกคุณแม่ญี่ปุ่นจะขยันไปเรียน ไปเข้าชมรม อบรมอะไรต่างๆ แบบจริงจังกันสุดๆ ที่ต๊ะเห็นมาบางคนไปเรียนตั้ง 4-5 อย่าง ในหนึ่งอาทิตย์ แต่จะว่าไปในโตเกียวก็มีคอร์สพัฒนาตัวเองหลายอย่างมากมายให้เลือกเรียน ไม่ว่าจะเป็นทำอาหาร ทำขนม งานฝีมือ ร้องเพลง เต้นรำ เล่นก๊ฬา บางคนก็สนใจจริงจัง บางคนก็ไปเรียนเพื่อไปเจอเพื่อนบ้าง อะไรบ้าง จริงๆ แล้วการเล่นเน็ต เขียนบล็อก ที่ต๊ะทำอยู่เนี่ยไม่ใช่ตัวอย่างที่ดีเท่าไหร่ และจะว่าไปคงไม่ค่อยมีใครเค้าทำกันหรอก ดังนั้นเพื่อจะได้เป็นคุณแม่ที่มีสาระกับเค้าบ้าง ปีที่ผ่านมาต๊ะจึงไปสมัครอบรมการทำเบนโตะขั้นพื้นฐานกับโคชิที่โรงเรียน ถือเป็นการใช้เวลาว่างแบบมีแก่นสารครั้งแรกเลยทีเดียว
พูดถึงบรรยากาศการอบรมดีกว่า เนื่องจากจัดที่โรงเรียนจึงสถานที่อบรมจึงเต็มไปด้วยนักโภชนากร ครู มีการแจกเอกสาร presentation แบบว่าเป็นเรื่องเป็นราวมาก ครูพูดยืดยาวมากมาย ต๊ะขอสรุปสั้นๆ แบบนี้นะคะ
เบนโตะคืออะไร เบนโตะคืออาหารกลางวันที่ใส่ในกล่องสำหรับไปกินนอกสถานที่ ถ้าเราซื้อโจ๊กมาจากปากซอย แล้วเทใส่ปิ่นโต เอาไปนั่งกินตอนรถติดระหว่างทางไปทำงาน แบบนั้นไม่ถือว่าเป็นเบนโตะถึงมันจะอร่อยก็เถอะนะ และถึงเบนโตะจะเป็นวัฒนธรรมของญีปุ่นแต่ก็ไม่ได้มีข้อจำกัดว่าอาหารในเบนโตะต้องเป็นอาหารญี่ปุ่น จะเป็นอาหารอะไรก็ได้ แต่ขอให้เป็นอาหารที่ไม่มีนํ้าเยอะ ปรุงสุก 100 เปอร์เซ็นต์ และไม่เสียง่าย อร่อยได้ในอุณหภูมิห้อง อันนี้คือคอนเซ็ปต์ของเบนโตะ
สัดส่วนของอาหารในเบนโตะ สัดสวนที่เหมาะสม และดีต่อสุขภาพก็คือคาร์โบไฮเดรต 50 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 25 เปอร์เซ็นต์ และผักต่าง ๆ 25 เปอร์เซ็นต์ และจะต้องมีแคลอรี่ที่พอเหมาะ
เมนูที่เด็กๆ จะทำใส่เบนโตะวันนี้เป็นแซนวิซสไตล์ญี่ปุ่น มีทั้งไส้ไก่เทอริยากิ ไส้กุ้งชุบเกล็ดขนมปังทอด และไส้ไข่ พวกแม่ๆก็ได้แต่เอาใจช่วยอยู่ใกล้ๆ ไม่ได้ลงมือทำกันสักเท่าไหร่ ก็พวกเด็กๆ น่ะพอได้จับตะหลิวล่ะก็ยอมเราซะที่ไหน แต่ก็ดีออกได้พักมือบ้าง พักขาบ้าง ทำเสร็จแล้วเด็กๆ ก็จะจัดอาหารใส่กล่อง คุณครูและนักโภชนาการก็มาเดินดู และพูดคุย แนะนำบ้าง
แอ่นแอ้น และนี่คือหน้าตาเบนโตะของโคชิค่ะ จัดได้ดีพอใช้ ส่วนตัวต๊ะว่าน่าจะมีสีเขียวมากกว่านี้ และน่าจะจัดให้ไม่เหลือที่ว่างในกล่อง แต่เจ้าตัวภูมิใจมาก ทำเสร็จ กินเสร็จ ยิ้มไม่มีหุบทีเดียว
เอาล่ะค่ะ ไหนๆ ก็พูดเรืองเบนโตะแล้วก็จะพูดเรื่องนี้ต่ออีกสักหน่อยนะคะ ไม่ได้เป็นความรู้ที่ได้มาจากการอบรม แต่เป็นสิ่งที่ต๊ะได้มาจากประสบการณ์ของตัวเอง และเป็นเรื่องเบนโตะที่ลงลึกมากกว่าพื้นฐานหน่อย แต่จะบอกว่าระดับสูงมันก็กระดากปากนะคะ (เอ่อ ความรู้จากต๊ะมันก็เชื่อถือได้เหมือนกันนะ) นอกจากคุณค่าทางโภชนาการแล้ว ความหลายหลายในเรื่องรสชาติ และ Texture ก็เป็นเรื่องสำคัญในการจัดเบนโตะให้สวย และอร่อย ต๊ะมีเบนโตะกล่องหนึ่งอยากให้ดู เป็นเบนโตะที่ต๊ะทำส่งประกวดเมื่อนานมากแล้ว
อาหารที่อยู่ในเบนโตะด้านบนนั้นมีทั้งรสชาติที่หลากหลาย และ Texture ที่ต่างกัน มีรสหวานจากอินารืซูชิ รสเปรี้ยวจากบ๊วย รสขมจากมะระ รสเค็มจากไข่พะโล้ ในเรื่องของ Texture ก็มีทั้งเรียบลื่น เป็นมันวาว ขรุขระ (ใช้คำนี้แล้วดูไม่เหมือนอาหารแฮะ) และสุดท้ายเวลาจัดเบนโตะอย่าลืมให้ความสำคัญกับการใช้สีนะคะ อาหารในเบนโตะควรจะมีสีที่หลากหลาย แต่ก็ไม่ควรจะมากจนรู้สึกเยอะ ตาลาย ถ้าคุณมีพื้นฐานด้านศิลปะมาบ้าง เรื่องนี้ไม่ยากเลยค่ะ
เล่ากันพอหอมปากหอมคอ ขอจบแค่นี้ดีกว่า วันหลังจะมาเล่าถึงกล่องเบนโตะ และวิธีเลือกซื้อกล่องเบนโตะกันบ้าง วันนี้ไปก่อนนะคะ สวัสดีค่ะ
เบนโตะคืออะไร เบนโตะคืออาหารกลางวันที่ใส่ในกล่องสำหรับไปกินนอกสถานที่ ถ้าเราซื้อโจ๊กมาจากปากซอย แล้วเทใส่ปิ่นโต เอาไปนั่งกินตอนรถติดระหว่างทางไปทำงาน แบบนั้นไม่ถือว่าเป็นเบนโตะถึงมันจะอร่อยก็เถอะนะ และถึงเบนโตะจะเป็นวัฒนธรรมของญีปุ่นแต่ก็ไม่ได้มีข้อจำกัดว่าอาหารในเบนโตะต้องเป็นอาหารญี่ปุ่น จะเป็นอาหารอะไรก็ได้ แต่ขอให้เป็นอาหารที่ไม่มีนํ้าเยอะ ปรุงสุก 100 เปอร์เซ็นต์ และไม่เสียง่าย อร่อยได้ในอุณหภูมิห้อง อันนี้คือคอนเซ็ปต์ของเบนโตะ
สัดส่วนของอาหารในเบนโตะ สัดสวนที่เหมาะสม และดีต่อสุขภาพก็คือคาร์โบไฮเดรต 50 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 25 เปอร์เซ็นต์ และผักต่าง ๆ 25 เปอร์เซ็นต์ และจะต้องมีแคลอรี่ที่พอเหมาะ
เมนูที่เด็กๆ จะทำใส่เบนโตะวันนี้เป็นแซนวิซสไตล์ญี่ปุ่น มีทั้งไส้ไก่เทอริยากิ ไส้กุ้งชุบเกล็ดขนมปังทอด และไส้ไข่ พวกแม่ๆก็ได้แต่เอาใจช่วยอยู่ใกล้ๆ ไม่ได้ลงมือทำกันสักเท่าไหร่ ก็พวกเด็กๆ น่ะพอได้จับตะหลิวล่ะก็ยอมเราซะที่ไหน แต่ก็ดีออกได้พักมือบ้าง พักขาบ้าง ทำเสร็จแล้วเด็กๆ ก็จะจัดอาหารใส่กล่อง คุณครูและนักโภชนาการก็มาเดินดู และพูดคุย แนะนำบ้าง
แอ่นแอ้น และนี่คือหน้าตาเบนโตะของโคชิค่ะ จัดได้ดีพอใช้ ส่วนตัวต๊ะว่าน่าจะมีสีเขียวมากกว่านี้ และน่าจะจัดให้ไม่เหลือที่ว่างในกล่อง แต่เจ้าตัวภูมิใจมาก ทำเสร็จ กินเสร็จ ยิ้มไม่มีหุบทีเดียว
เอาล่ะค่ะ ไหนๆ ก็พูดเรืองเบนโตะแล้วก็จะพูดเรื่องนี้ต่ออีกสักหน่อยนะคะ ไม่ได้เป็นความรู้ที่ได้มาจากการอบรม แต่เป็นสิ่งที่ต๊ะได้มาจากประสบการณ์ของตัวเอง และเป็นเรื่องเบนโตะที่ลงลึกมากกว่าพื้นฐานหน่อย แต่จะบอกว่าระดับสูงมันก็กระดากปากนะคะ (เอ่อ ความรู้จากต๊ะมันก็เชื่อถือได้เหมือนกันนะ) นอกจากคุณค่าทางโภชนาการแล้ว ความหลายหลายในเรื่องรสชาติ และ Texture ก็เป็นเรื่องสำคัญในการจัดเบนโตะให้สวย และอร่อย ต๊ะมีเบนโตะกล่องหนึ่งอยากให้ดู เป็นเบนโตะที่ต๊ะทำส่งประกวดเมื่อนานมากแล้ว
อาหารที่อยู่ในเบนโตะด้านบนนั้นมีทั้งรสชาติที่หลากหลาย และ Texture ที่ต่างกัน มีรสหวานจากอินารืซูชิ รสเปรี้ยวจากบ๊วย รสขมจากมะระ รสเค็มจากไข่พะโล้ ในเรื่องของ Texture ก็มีทั้งเรียบลื่น เป็นมันวาว ขรุขระ (ใช้คำนี้แล้วดูไม่เหมือนอาหารแฮะ) และสุดท้ายเวลาจัดเบนโตะอย่าลืมให้ความสำคัญกับการใช้สีนะคะ อาหารในเบนโตะควรจะมีสีที่หลากหลาย แต่ก็ไม่ควรจะมากจนรู้สึกเยอะ ตาลาย ถ้าคุณมีพื้นฐานด้านศิลปะมาบ้าง เรื่องนี้ไม่ยากเลยค่ะ
เล่ากันพอหอมปากหอมคอ ขอจบแค่นี้ดีกว่า วันหลังจะมาเล่าถึงกล่องเบนโตะ และวิธีเลือกซื้อกล่องเบนโตะกันบ้าง วันนี้ไปก่อนนะคะ สวัสดีค่ะ
0 comments